http://www.kruaon.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 เกียวกับเรา

 ขันตอนการสอน

 หลักสูตร

 ประกันภัย

คู่มือการเรียนวิชา พ.ร.บ. การจราจรทางบก                                                        

 

ก่อนขับรถ   เรียนรู้กฎ   ลดอุบัติเหตุ

ความหมายของคำที่ควรทราบ      

การจราจร                             หมายความว่า  การใช้ช่องทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า คนจูงหรือไล่ต้อนสัตว์

หมายความว่า  ทางเดินรถ ช่องเดินทาง ช่องเดินรถประจำทาง ไหล่ทาง ทางเท้า สะพาน และลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร และให้ความหมายร่วมมือทางส่วนบุคคลที่เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้ในการจราจร หรือเจ้าพนักงานประกาศให้เป็นทางแต่ไม่รวมถึงทางรถไฟ

ทางเดินรถ                            หมายความว่า  พื้นที่ที่สำหรับการเดินรถไม่ว่าในระดับใต้พื้นดินหรือเหนือพื้นดิน

ช่องเดินรถ                           หมายความว่า  ทางเดินรถที่ได้แบ่ง เป็นช่องสำหรับการเดินรถ โดยทำเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวแบ่งเป็นช่องไว้

ทางเดินรถทางเดียว           หมายความว่า  ทางเดินรถใดที่กำหนด ให้ผู้ขับไปในทิศทางเดียวกัน ตามเวลาที่พนักงานจราจรกำหนด

ขอบทาง                                หมายความว่า  แนวริมของทางเดินรถ

ไหล่ทาง                                หมายความว่า  พื้นที่ที่ต่อจากทางขอบทางออกไปทางด้านข้าง ซึ่งมิได้ทำเป็น

ทางเท้า

ทางร่วมทางแยก                  หมายความว่า  พื้นที่ที่ทางเดินรถตั้งแต่ 2 สายตัดผ่านกัน บรรจบกันหรือติดกัน

ทางเท้า                                  หมายความว่า  พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับคนเดิน ซึ่งอยู่ข้างใดข้างหนึ่งของทางหรือทั้งสองข้างของทาง หรือส่วนที่มี่อยู่ชิดขอบทาง ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับ

คนเดิน

ทางข้าม                                 หมายความว่า  พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับให้คนเดินข้ามทางข้าม ไม่ว่าระดับใต้หรือเหนือพื้นดิน

เขตปลอดภัย                       หมายความว่า  พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้เห็นได้ชัดเจนทุกเวลา สำหรับให้คนเดินเท้าที่ข้ามทางหยุดรถหรือให้คนที่ขึ้นหรือลงรถหยุดรถก่อนจะข้ามทางต่อไป

ที่คับขัน                                 หมายความว่า  ทางที่มีการจราจรพลุกพล่าน หรือที่มีสิ่งกีดขวาง หรือในที่ซึ่งมองเห็น หรือทราบได้ล่วงหน้าว่าอาจเกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่รถหรือคนได้ง่าย

รถ                                           หมายความว่า  ยานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง

รถฉุกเฉิน                             หมายความว่า  รถดับเพลิง และรถพยาบาลของทางราชการหรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้ใช้ไฟสัญญาณ

 

การใช้รถ

ลักษณะของรถที่ใช้ในทาง

-                    มีสภาพมั่นคงแข็งแรง ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้โดยสาร หรือประชาชนต้องมีอุปกรณ์ส่วนควบครบถ้วน

-                    ติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนหรือป้ายประจำรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์การขนส่งล้อเลื่อน รถลาก หรือกฎหมายว่าด้วยการจ้าง

-                    สามารถมองเห็นทางได้พอแก่ความปลอดภัย

-                    ไม่ก่อให้เกิดเสียงอื้ออึง หรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ

-                    มีล้อ หรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางที่เป็นยาง เว้นแต่เป็นรถที่ได้รับยกเว้นตามกฎกระทรวง

     (รถที่ใช้ในการสงคราม และราชการตำรวจ) หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตำรวจ

 

การใช้ไฟหรือเสียงสัญญาณของรถ

-     ขณะมีแสงสว่างไม่เพียงพอที่มองเห็นคน รถหรือสิ่งกีดขวางได้โดยชัดเจนในระยะ 150 เมตร ไม่ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบเสียงสัญญาณไซเรนเสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีดเสียงที่แตกพร่า

-      ต้องใช้เสียงสัญญาณเฉพาะเมื่อจำเป็นหรือป้องกันอุบัติเหตุ และไม่ต้องใช้เสียงยาว หรือซ้ำเกินควร

-      รถที่บรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถ ในขณะมีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคนรถ หรือสิ่งกีดขวางได้โดยชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ต้องจุดไฟสัญญาณแสงแดงหรือในเวลากลางวันต้องติดธงสีแดงไว้ที่ตอนปลายสุดของสิ่งที่บรรจุ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร

-     รถที่ใช้บรรทุกวัตถุระเบิด หรือวัตถุชนิดอื่นใดต้องจัดให้มีป้ายแสดงถึงวัตถุที่บรรทุกและเครื่องดับเพลิง และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการป้องกันอันตราย ดังต่อไปนี้

1.  ไม่จอดรถทิ้งไว้โดยไม่มีผู้ควบคุมดูแล

2.  ไม่เติมน้ำมันเชื้อเพลิง เว้นแต่มีความจำเป็น

3.  ไม่สูบบุหรี่หรือตักเตือนมิให้ผู้อื่นสูบบุหรี่ภายในระยะ 15 เมตรจากตัวรถ

4.  ไม่ใช้ไฟหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ไฟที่ต้องใช้เชื้อเพลิงในรถ

 

การบรรทุก

-                    ด้านหน้าต้องบรรทุกของยื่นไม่เกินหน้าหม้อ หรือกันชนหน้ารถด้านท้ายต้องเกินกว่าท้ายรถไม่เกิน 2.50 เมตร และต้องจุดไฟสัญญาณแสงแดง หรือในเวลากลางวันต้องติดธงแดงไว้ที่ตอนปลายสุดของสิ่งที่บรรทุก ไฟสัญญาณหรือธงต้องเห็นในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร

-                    ความสูงรถที่มีความกวางไม่เกิน 2.30 เมตร สูงจากผิวทางได้ไม่เกิน 3.00 เมตร รถที่มีความกว้างเกิน 2.30 เมตร สูงจากผิวทางได้ไม่เกิน 3.00 เมตร รถบรรทุกตู้สำหรับบรรจุสิ่งของสูงได้ไม่เกิน 4.00 เมตร

-                    ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้คน สัตว์ สิ่งของที่บรรทุกตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจเกิดความเดือดร้อน รำคาญ ทำให้ทางสกปรก เปรอะเปื้อน ทำให้เสียสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร

-                    ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ หรือทำให้ปรากฏในทาง หรือที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ทราบ

-                    สัญญาณจราจรไฟกระพริบสีแดง ให้หยุดรถหลังเส้นที่ให้หยุดรถ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรจึงให้ขับรถต่อไป

-                    สัญญาณไปจราจรกระพริบสีเหลืองอำพัน ให้ลดความเร็วของรถและผ่านทางเดินรถนั้นไป

-                    เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดสั้นยาวหนึ่งครั้งติดกัน ให้ผู้ขับขี่หยุดรถทันที

-                    เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดสั้นสองครั้งติดต่อกัน ให้ผู้ขับขี่รถผ่านไปได้

-                    ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการจราจรในทางเดินรถที่ให้ เพื่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร แม้จะต่างจากเครื่องหมายหรือสัญญาณจราจรที่ปรากฏไว้

 

  1. การใช้ทางเดินรถ

การขับรถ

-                    ต้องระมัดระวังไม่ให้รถชนหรือโดนคนเดินเท้าไม่ว่าอยู่ส่วนใดของทางและต้องใช้สัญญาณเตือนคนเดินเท้าให้รู้ตัว เมื่อจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก คนชรา หรือคนพิการที่กำลังใช้ทาง ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการควบคุมของตน

-                    ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้าย และไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ

  1. ด้านซ้ายมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิดการจราจร
  2. เป็นทางเดินรถทางเดียว
  3. ทางเดินรถนั้นกว้างไม่เกิน 6 เมตร

-                    กรณีทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป หรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุด ต้องขับรถในช่องซ้ายสุด หรือใกล้กับช่องเดินรถประจำทาง เว้นแต่        

  1. ในช่องเดินรถมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิดการจราจร
  2. เป็นทางเดินรถทางเดียว
  3. จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าบริเวณใกล้ทางร่วมทางแยก
  4. เมื่อจะแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น

-                    รถที่มีความเร็วช้า รถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ต้องขับให้ใกล้ขอบทางด้านซ้ายเท่าที่จะทำได้

-                    กรณีทางเดินรถที่แบ่งช่องทางเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป หรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุด ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ต้องขับขี่ในช่องซ้ายสุดหรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทาง ยกเว้นรถบรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักไม่เกิน 1,600 กก. และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินอัตรากฎหมายว่าด้วยรถยนต์

-                    ในทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนกันได้ปลอดภัย เมื่อขับรถสวนกัน ผู้ขับขี่รถที่ใหญ่กว่าต้องหยุดรถให้ชิดขอบทางด้านซ้าย เพื่อให้รถคันที่เล็กกว่าผ่านไปได้

-                    ต้องขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควร มนระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัย ในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ

-                    ขณะขับรถขึ้นสะพานหรือทางลาดชัน ต้องระมัดระวังไม่ให้รถไปโดนรถอื่น

ห้ามขับรถในกรณีต่อไปนี้

-                    ขณะที่หย่อนความสามารถ

-                    ขณะที่เมาสุรา หรือของเมาอย่างอื่น

-                    ลักษณะที่กีดขวางการจราจร

-                    โดยประมาท หรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

-                    โดนผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจเห็นทางด้านหน้า หรือทางด้านหลังด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย

-                    โดนคร่อม หรือทับเส้น หรือแนวเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช้องเดินรถเลี้ยวซ้าย หรือกลับรถ

-                    บนทางเท้า เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วย หรือคนพิการ

-                    โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อยของผู้อื่น

การขับแซงและผ่านขึ้นหน้า

                ในทางเดินรถที่ไม่ได้แบ่งช่องเดินรถ ต้องให้สัญญาณพอให้ผู้ขับรถคันหน้าทราบและเมื่อคันหน้าทราบให้สัญญาณแล้วจึงแซงได้

                การแซงต้องแซงด้านขวา โดยห่างจากรถที่ถูกแซงพอสมควร และเมื่อขับผ่านหน้ารถที่ถูกแซงไประยะเพียงพอจึงชิดซ้าย

การแซงหน้าแซงด้านซ้าย เว้นแต่

-                    รถที่ถูกแซงกำลังเลี้ยวขวา หรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา

-                    ทางเดินรถที่แบ่งเป็นช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป

การแซงด้านซ้ายกระทำได้เมื่อไม่มีรถอื่นตามมาในระยะกระชั้นชิด และมีความปลอดภัย ห้ามขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่น ในกรณีต่อไปนี้

-                    ขณะกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง เว้นแต่มีเครื่องหมายให้แซงได้

-                    ภายใน 30 เมตร ก่อนถึงทางข้าม ทางร่วมทางแยก วงเวียน เกาะ หรือทางเดนรถที่ตัดทางเดินรถไฟ

-                    ขณะมีหมอก ฝน ฝุ่น หรือควัน จนไม่อาจเห็นทางข้างหน้า มนระยะ 60 เมตร

-                    เมื่อเข้าที่คับขัน หรือเขตปลอดภัย

รถคันหน้าที่ได้รับสัญญาณขอแซงจากคันหลัง ต้องยอมให้รถคันหลังที่มีความเร็วสูงกว่าผ่านขึ้น โดนผู้ขัยรถคันหน้าต้องให้สัญญาณตอบตอบเมื่อเห็นว่าทางข้างหน้าปลอดภัย และไม่มีรถอื่นสวนมาในระยะกระชั้นชิดกับทั้งต้องลดความเร็ว และชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ เพื่อให้รถที่จะแซงผ่านขึ้นหน้าได้โดยปลอดภัย

การออก การเลี้ยวรถ และการกลับรถ

                การออกรถจากที่จอด ถ้ามีรถจอดหรือสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี้ต้องให้สัญญาณ

 (สัญญาณมือและแขน หรือๆไฟสัญญาณ) และจะขับรถไปได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็น การกีดขวางการจราจรของรถอื่น

การเลี้ยวรถ

                เลี้ยวซ้าย

-                    ถ้าไม่ได้แบ่งช่องเดินรถ ให้ผู้ขับรถชิดด้านซ้าย

-                    ถ้าแบ่งช่องเดินรถต้องเข้าช่องเดินรถ สำหรับที่จะเลี้ยวซ้าย ทั้งนี้ก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร

-                    ถ้ามีช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายสุด ให้ขับชิดช่องเดินรถประจำทางก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร จะผ่านเข้าในช่องเดินรถประจำทางได้เฉพาะที่มีเครื่องหมายให้เลี้ยวรถได้เท่านั้น

เลี้ยวขวา

-                    ถ้าไม่แบ่งช่องเดินรถไว้ ต้องชิดด้านขวาของแนวแบ่งกึ่งกลางของทางเดินรถก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร

-                    ถ้าแบ่งช่องทางเดินรถในทิศทางเดียวกันตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป ให้ขับชิดด้านขวาสุดของทางเดินรถ หรือช่องที่มีเครื่องหมายให้เลี้ยวขวาได้ ทั้งนี้ก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร

-                    ถ้ามีช่องเดินรถประจำทางในด้านขวาสุด ให้ขับชิดช่องเดินรถประจำทาง ก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร จะผ่านเข้าในช่องทางเดินรถประจำทางได้เฉพาะในบริเวณที่มีเครื่องหมายจราจรให้เลี้ยวรถผ่านได้

-                    ทางเดินรถที่มีเจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงสัญญาณจราจรด้วยมือ และแขน ให้ผู้ขับรถเลี้ยวขวาผ่านไปได้โดยไม่ต้องอ้อมเจ้าพนักงาน

-                    กรณีอยู่ในทางร่วมแยก ต้องให้รถที่สวนมาในทางเดินรถทางเดียวกันผ่านทางร่วมแยกไปก่อนจึงเลี้ยวขวาได้

-                    กรณีจะเลี้ยวอ้อมวงเวียนหรือเกาะ ต้องขับรถอ้อมทางซ้ายของวงเวียนหรือเกาะนั้น

-                    การเลี้ยงรถ ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวัง และต้องหยุดให้ทางแก่ผู้ที่กำลังข้ามทาง และรถที่กำลังผ่านทางร่วมทางแยกจากทางด้านอื่นก่อน

-                    กรณีที่รถเลี้ยวซ้ายและเลี้ยวขวาพร้อมกัน ให้รถเลี้ยวซ้ายให้ทางแก่รถเลี้ยวขวาก่อน

-                    ห้ามเลี้ยวรถในทางเดินทางรถที่มีเครื่องหมายห้ามเลี้ยว หรือห้ามกลับรถ

 

การกลับรถ

                ในทางเดินรถสวนกันได้ ต้องไม่กลับรถในเมื่อมีรถคันอื่นสวนมา หรือตามมาในระยะน้อยกว่า 150 เมตร และต้องไม่เป็นการกีดขวางจราจร

                ห้ามกลับรถในบริเวณดังต่อไปนี้

-                    ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายห้ามเลี้ยว ห้ามกลับรถ

-                    ในเขตปลอดภัย ที่คับขัน บนสะพานในระยะ 100 เมตร จากทางราบ หรือบนเชิงสะพาน

-                    ในทางร่วมทางแยก เว้นแต่มีเครื่องหมายจราจรให้กลับรถได้

การหยุดรถและจอดรถ

-                    การหยุดรถหรือจอดรถในทางเดินรถต้องให้สัญญาณก่อนไม่น้อยกว่า 30 เมตร และไม่เป็นการกีดขวางการจราจร

-                    ต้องจอดทางด้านซ้ายของทางเดินรถและต้องจอดรถขนานชิดกับขอบทาง หรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกิน 25 เซนติเมตร หรือจอดรถตามทิศทางหรือด้านใดด้านหนึ่งของทางเดินรถที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดไว้

แต่ในกรณีที่มีช่องทางเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ห้ามมิให้จอดในลักษณะดังกล่าว ในเวลาที่กำหนดให้ช่องเดินรถประจำทาง

บริเวณที่ห้ามหยุดรถ

-                    บนทางเท้า

-                    บนสะพานหรืออุโมงค์

-                    ในทางร่วมทางแยก

-                    เขตที่มีเครื่องหมายห้ามหยุดรถ

-                    ปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ

-                    ในเขตปลอดภัย

แต่ไม่ใช้บังคับกรณีที่ต้องหยุดรถ เพราะมีสิ่งกีดขวางอยู่ในทางเดินรถหรือเครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของเครื่องขัดข้อง หรือกรณีปฏิบัติตามสัญญาณหรือเครื่องหมายจราจร

ในกรณีเครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ของรถขัดข้องจนต้องจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องนำรถให้พ้นทางเดินรถโดยเร็วที่สุด หากจำเป็นต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องจอกรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจร และต้องแสดงเครื่องหมายและสัญญาณตามลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (ในเขต กทม. ให้แสดงเครื่องหมายไว้ด้านหน้า และด้านนอกรถเขต กทม. ให้ไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังรถห่างจากรถไม่ต่ำกว่า 50 เมตร)

บริเวณที่ห้ามจอด

-                    บนทางเท้า

-                    บนสะพานหรือในอุโมงค์

-                    ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะ 10 เมตร ห่างจากทางร่วมทางแยก

-                    ในทางข้าม หรือในระยะ 3 เมตร จากทางข้าม

-                    เขตที่มีเครื่องหมายห้ามจอด

-                    ในระยะ 3 เมตร จากท่อน้ำดับเพลิง

-                    ในระยะ 10 เมตร จากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร

-                    ในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟ

-                    ซ้อนคันกับคันอื่นที่จอดอยู่ก่อน

-                    ตรงปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตร จากปากทางเดินรถ

-                    ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะ 10 เมตร จากปลายสุดเขตปลอดภัย

-                    ในที่คับขัน

-                    ในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงป้ายรถประจำทางและเลยไปอีก 3 เมตร

-                    ระยะ 3 เมตร จากตู้ไปรษณีย์

-                    กีดขวางการจราจร

การจอดรถในทางเดินรถที่ผู้ขับไม่อยู่ควบคุมรถ ต้องหยุดเครื่องยนต์และห้ามล้อ การจอดในทางลาดชันต้องหันล้อหน้าเข้าขอบทาง

การหยุดหรือจอดรถในทางเดินรถนอกเขตเทศบาล ต้องหยุดหรือจอด ณ ที่ซึ่งผู้ขับรถอื่น จะเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร

การจอดรถในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะเห็นรถได้ในระยะ 150 เมตร ผู้จอดต้องเปิดไฟหรือให้แสงสว่าง

การหยุดรถในทางเดินรถที่มีรถไฟผ่าน ต้องห่างทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร

4. การใช้ทางเดินรถที่จัดเป็นช่องทางเดินรถประจำทาง

รถโดยสารประจำทางและรถบรรทุกคนโดยสารที่อธิบดีกำหนด (ปัจจุบันได้แก่ รถบรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน ของทางราชการหรือรัฐวิสาหะกิจและรถโรงเรียน) ซึ่งอยู่ในระหว่างรับ – ส่ง หรือบรรทุกคนโดยสาร ต้องขับรถในช่องทางเดินรถประจำทาง จะขับออกนอกช่องเดินรถประจำทางได้เมื่อมีสิ่งกีดขวางหรือปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่

 

  1. 5.     ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วของรถ

 

                ผู้ขับขี่ต้องขับรถด้วยอัตราความเร็วที่กำหนดในกฎกระทรวง คือ

            รถบรรทุกที่มีน้ำหนักบรรทุกเกิน 1200 กก. หรือรถบรรทุกคนโดยสารขับในเขต กทม. เมืองพัทยา เทศบาล ไม่เกิน 60 กม./ชม. หรือนอกเขตดังกล่าวไม่เกิน 80 กม./ชม.

             รถอื่นนอกจาที่ระบุใน 5.1 ขณะที่ลากจูงรถพ่วง รถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1200 กก. หรือรถยนต์สามล้อ ให้ขับในเขต กทม. เมืองพัทยา เทศบาลไม่เกิน 45 กม./ชม. หรือนอกเขตเทศบาลดังกล่าวไม่เกิน 60 กม./ชม.

             รถยนต์อื่นนอกจากที่ระบุใน 5.1 หรือ 5.2 หรือรถจักรยานยนต์ ให้ขับในเขต กทม. เมืองพัทยา เทศบาล ไม่เกิน 80 กม./ชม. หรือนอกเขตดังกล่าวไม่เกิน 90 กม./ชม.

             ในกรณีที่มีเครื่องหมายจราจรกำหนดอัตราความเร็วต่ำกว่าที่กำหนดไว้ใน 5.1 5.2 หรือ 5.3 ให้ขับไม่เกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้นั้น

  1. การขับรถผ่านทางร่วมทางแยก
  2. ผู้ขับขี่ขับรถมาถึงทางแยกที่ไม่มีสัญญาณจราจร หรือพนักงานจราจรควบคุมการจราจรให้ปฏิบัติดังนี้

-                    ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน

-                    ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน และไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ต้องให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายผ่านไปก่อน เว้นแต่ในทางร่วมทางแยกนั้น มีทางเดินรถทางเอกตัดผ่านทางโทให้รถในทางเอกขับผ่านไปก่อน

-                    ทางเอกได้แก่ ทางเดินรถที่เจ้าพนักงานจราจรประกาศและติดตั้งเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นทางเดินรถทางเอก ทางอื่นนอกนั้นถือเป็นทางโท

-                    ผู้ขับขี่ขับรถมาถึงวงเวียน ที่มีได้ติดตั้งสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจร ให้รถที่อยู่ในวงเวียนทางด้านขวาผ่านไปก่อน

-                    รถที่ออกจากทางส่วนบุคคล หรือบริเวณอาคาร เมื่อจะผ่านหรือเลี้ยวขวาเข้าทางเดินรถที่ตัดผ่าน ต้องหยุดรถที่กำลังแล่นอยู่ผ่านไปก่อน

 

 

 

7. รถฉุกเฉิน

 

ขณะปฏิบัติหน้าที่ ผู้ขับขี่มีสิทธิ์ดังนี้

-                    ใช้สัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงไซเรนหรือสัญญาณอย่างอื่น ตามที่อธิบดีกำหนด

-                    หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด

-                    ขับรถเร็วกว่าอัตราที่กำหนด

-                    ผ่านสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรที่ให้หยุดรถ แต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควร

-                    ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับการเดินรถ ทิศทางของการขับรถ และการเลี้ยวรถ ควรปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณี

ข้อปฏิบัติเมื่อเห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่

-                    คนเดินเท้าต้องหลบชิดขอบทาง หรือเข้าไปในเขตปลอดภัย หรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด

-                    ผู้ขับขี่รถต้องหยุดหรือจอดรถ ชิดขอบทางด้านซ้ายหรือชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก

-                    ผู้ที่ขี่หรือควบคุมสัตว์ ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดขอบทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยก

8. การลากรถหรือจูงรถ

             ห้ามขับรถลากหรือจูงรถอื่นไปมรทางเกิน 1 คัน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี

-                    การลากหรือจูงรถที่ไม่สามารถใช้พวงมาลัยรถ หรือห้ามล้อได้ให้ใช้วิธียกหน้าหรือท้ายรถที่ถูกลากติดกับรถที่ลาก

-                    การลากหรือจูงรถที่ใช้พวงมาลัย หรือห้ามล้อได้ อาจใช้วิธียกหน้าหรือท้ายรถหรืออาจใช้สายพ่วง สายพ่วงที่ต้องใช้มรความยาวจากส่วนท้ายสุดของรถที่ลาก ถึงส่วนหน้าสุดของรถที่ถูกลากไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ไม่เกิน 5 เมตร และรถที่ถูกลากต้องมีผู้ควบคุมด้วย

-                    ที่ท้ายรถที่ถูกลากหรือจูง ต้องมีแผ่นป้ายมีขาวขนาดกว้าง 25 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร มีข้อความว่า “รถกำลังลากจูง” สูง 15 เซนติเมตร

9. อุบัติเหตุ

ผู้ขับรถหรือควบคุมสัตว์ในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินผู้อื่น (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ก็ตาม) ต้องหยุดรถหรือสัตว์และให้ความช่วยเหลือตามสมควรและต้องแสดงตัวแจ้งเหตุแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที โดยแจ้ง ชื่อ – สกุล ที่อยู่ หมายเลขทะเบียน แก่ผู้เสียหายด้วย

                กรณีที่หลบหนีหรือไม่แสดงตัวดังกล่าว ให้สันนิฐานว่าเป็นผู้กระทำผิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนี  (หรือไม่แสดงตัว) จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือได้ตัวผู้ขับขี่ ถ้าเจ้าของหรือผู้ปกครองไม่แสดงตัว ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 6 เดือนนับแต่เกิดเหตุ ให้ถือว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้กระทำความผิด ให้ตกเป็นของรัฐฯ

10. ข้อห้ามอื่นๆที่ควรทราบ

       -      ห้ามขับรถเข้าเขตปลอดภัยเว้นแต่มีกรณีจำเป็น และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

-                    ห้ามขับรถถอยหลังในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย หรือกีดขวางทางจราจร

-                    หรือมิให้ผู้ขับขี่รถยนต์ยอมให้ผู้อื่นนั่งตอนแถวเดียวกับที่นั่งคนขับเกิน 2 คน

-                    ห้ามขับรถโดยสารใช้เกียร์ว่าง หรือเหยียบคลัชในขณะที่ขัยรถลงตามทางลาด หรือไหล่เขา

-                    ห้ามขับรถตามหลังรถฉุกเฉิน ในระยะต่ำกว่า 50 เมตร

-                    ห้ามขับรถผ่านเข้าไป หรือจอดรถบริเวณที่มีการปฏิบัติการดับเพลิง

-                    ห้ามแข่งรถในทางเว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจร

view

สอบใบขับขี่+กฏหมายด้วยรถยนต์

เครื่องหมายจราจรต่างๆ

เทคนิคการขับรถเกียร์ธรรมดา

กฎหมาย ตำรวจจราจรกับการยึดใบขับขี่

ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร

เทคนิคการขับรถเกียร์ออโต้

วิธีขับรถเกียร์ออโต้ vios+ขับรถเกียร์ออโ

view